แปรงฟันอย่างถูกวิธี – บทความดีๆ

บทความดีๆ วันนี้ ขอเสนอ วิธีแปรงฟันอย่างถูกต้องซึ่งเราเชื่อว่าหลายคน มีวิธีการแปรงฟันผิดๆทำให้เป็นต้นเหตุ ของ ฟันผุ กลิ่นปาก และ โรคต่างๆในช่องปาก

  1. ล้างแปรงให้ชุ่มชื้นก่อนใส่ยาสีฟัน
  2. เริ่มแปรงที่ฟันที่ลึกที่สุดของด้านบน โดยแปรงที่ฟันด้านหน้าก่อน
    แปรงฟัน บทความดีๆ
  3. แปรงเพียงครั้งละ 2-3 ซี่เท่านั้นและเอียงแปรงโดยหันทำมุม ให้เอียงเข้าหาเหงือก โดยโดนเหงือกข้างล่างนิดนึง จากนั้นปัดขึ้นลงๆ(ตามรูปด้านบน)
  4. เมื่อเสร็จแล้ว ก็เลื่อนไปอีกทีละ 2-3ซี่ จนสุด ที่ฟันกรามหรือฟันสุดท้ายของอีกข้าง
  5. ทำตามชั้นตอนที่ 2-4 ที่ฟัน ด้านล่าง
  6. แปรงฟันด้านในตามขั้นตอนที่2-4 เช่นเดิม(สำคัญคือทำตามที่ขีดเส้นใต้)โดยเอียงเข้าหาเหงือกและปัดขึ้นลงๆเช่นเดิม ส่วนฟันหน้าของเราด้านในแปรงตามรูปข้างล่างครับ
  7. บทความดีๆเรื่องแปรงฟัน
    บทความดีๆเรื่องแปรงฟัน

  8. แปรงฟันส่วนที่ใช้กัดอาหาร
  9. แปรงฟันอย่างถูกวิิธี

  10. แปรงลิ้นและแก้ม
  11. บ้วนปาก

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://dentistry.about.com/od/basicdentalcare/ht/brushproperly.htm
และรูปภาพโดย Shawn Marie Watson

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

เพื่อนที่คลิกเข้ามาหน้านี้ คงมีความสงสัย หรืออยากได้ความรู้รอบตัว เรื่องภูมิคุ้มกันในร่างกายใช่มั้ยล่ะ พอดีเราไปอ่านเจอบทความดีๆในหนังสือเล่มหนึ่งมา เลยเอามาเขียนย่อแบ่งปันให้นะ

ภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์แบ่งเป็น2ประเภท

  1. ภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า active immunity เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายเราโดนเร้าจาก แอนติเจน ต่างๆที่เข้ามา ทำให้ร่างกายเรา สร้าง แอนติบอดีมาต่อต้าน (ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ เช่น ทำไมคนกรุ๊ปเลือด เอ ไม่สามารถ ถ่ายเลือด ให้คน กรุ๊ป เลือด โอ ได้ ก็เพราะ คน กรุ๊ปเลือด โอ สร้างแอนติบอดีมาต่อต้าน แอนติเจน ของกรุ๊ปเลือด เอ นั่นเอง)
    note: ภูมิคุ้มกันชนิดนี้ร่างกายจะค่อยๆสร้างอย่างช้าๆ แต่พอสร้างเสร็จแล้ว จะอยู่ติดตัวไปนานน เช่นการฉีดวัคซีน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง เพราะเป็นการนำเชื้อที่ อ่อนๆ ฉีดใส่ร่างกายให้สร้างแอนติบอดีมาเป็นภูมิคุ้มกันติดตัวตลอดไป
  2. ภูมิคุ้มกันแบบรับมา (passive immunity) – เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย(antibody)เช่นเดียวกับข้อ 1 เพียงแต่ว่าภูมิคุ้มกันเช่นนี้จะอยู่ในร่างกายในระยะเวลาไม่นาน เท่าแบบแรก แต่ข้อดีคือร่างกายสามารถจดจำได้อย่างรวดเร็วและป้องกันได้ทันที ตัวอย่างเช่น ใช้เซรุ่มแก้พิษงู จะสามารถรักษาอาการโดนพิษงู ได้อย่้างรวดเร็ว (แต่พอโดนกัดใหม่ก็ต้องมาฉีดใหม่)

จัดอันดับหนังทำรายได้มากที่สุดในโลก

เกร็ดความรู้รอบตัววันละนิด วันนี้จะมาเสนอเรื่องภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดในโลก

หนังที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกเรียงตามอันดับคือ

10. Transformer Revenge of the Fallen เรื่องนี้เชื่อว่าทุกคนรู้จักกันดี ทรานส์ฟอร์มเมอร์ภาค2นั่นเอง ทำรายได้ทั้งสิ้น $402,076,689
9. Spider-man อันนี้ก็รู้จักกันทุกคนอยู่แล้วสำหรับ ไอ้แมงมุมภาค 1 : $403,706,375
8. Pirates of the Caribbean (Dead Man’s Chest) อันนี้ก็ดังมากในไทยอีกเรื่องสำหรับ ไพเรทภาค 2 : $423,032,628
7. Starwars Episode I (สตาร์วอส์ภาคหนึ่ง) : $431,065,444
6. E.T. The Extra Terrestrial อันนี้เชื่อว่าบางคนอาจไม่รู้จักเพราะเป็นหนังเก่า (1982) : $434,949,459
5. Shrek 2 เจ้ายักษ์เขียว 2 คงรู้จักกันอยู่แล้ว : $436,471,036
4. Star Wars ภาค4 นั่นเอง (เค้าทำภาค 4 5 6 แล้วค่อยกลับมาทำ 1 2 3) : $460,935,665
3. The Dark Knight แบทแมนภาคที่ดังที่สุดนั่นเอง : $533,316,061
2. Titanic หนังอมตะตลอดกาลเรื่องนี้ทำรายได้ไปทั้งสิ้น : $600,779,824
1. Avatar อวตาลเข้าปีเดียวก็ทำรายได้ถล่มทลาย ชนะ titanic ไปเรียบร้อยแล้วด้วยรายได้ $740,916,066

*เกร็ดความรู้ – รู้หรือไม่ว่า อวตาล และ titanic หนังที่ทำรายได้ อันดับ 1 และ 2 ของโลก ตลอดกาลกำกับโดยผู้กำกับคนเดียวกันคือ James Cameron
ดูอันดับอื่นๆ มากกว่านี้ที่ http://www.imdb.com/boxoffice/alltimegross

หวังว่าคงเป็น ความรู้รอบตัว, เกร็ดความรู้ เล็กน้อยๆ ที่น่าสนใจนะครับ

นิยามของคำว่าประชากร

บทความดีๆเกร็ดความรู้รอบตัวเรื่องประชากร
เพื่อนๆ ได้ยินคำว่าประชากรมาตั้งแต่เด็กๆ แต่รู้อย่างแท้จริงหรือไม่ว่าประชากร คืออะไร

ประชากร คือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกัน ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู๋เดียวกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ลักษณะต่างๆของประชากร

  • ขนาดของประชากร – มีปัจจัยขึ้นอยู่กับ อัตราการ เกิด, ตาย, อพยพเข้และออก
  • ความหนาแน่นของประชากร – จำนวนหารด้วยพื้นที่

หวังว่าคงได้ความรู้รอบตัวเรื่องประชากรและเกร็ดความรู้อื่นๆไม่มากก็น้อยนะครับ

อ่านเกร็ดความรู้รอบตัวข้างล่างเลยครับ

    การแก้ปัญหามีบุตรยาก

    บทความดีๆวันนี้เราจะมานำเสนอวิธีแก้ปัญหาอาการมีบุตรยากซึ่งอาจจะเกิดจาก อสุจิเพศชายไม่แข็งแรง หรือปัจจัยสุขภาพด้านอื่นๆ

    ในทางการแพทย์มีวิธีแก้ปัญหาอาการมีบุตรยาก จะสรุปให้ฟังคร่าวๆดังนี้

    • GIFT หรือ ที่เราเรียกว่าการทำกิฟท์ เป็นการให้แพทย์นำอสุจิของพ่อและไข่ของแม่ นำไปผสมกันในท่อนำไข่ในตัวแม่
    • ICSI เป็นการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรงเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผสมกันแน่ๆ
    • ZIFT เป็นการช่วยนำอสุจิกับไข่ที่ผสมกันแล้วกลายเป็นไซโกตเข้าไปในท่อนำไข่
    • SUZI คือการฉีดอสุจิให้แตะเยื่อเซลล์ไข่
    • IVF-ET หรือทีคนไทยเรารู้จักกันดีว่าเด็กหลอดแก้ว คือการนำไข่และอสุจิมา รวมกันเข้าไปในหลอดแก้ว เมื่อมันผสมกันได้เซลล์ จึงนำไปฉีดใหม่ในตัวแม่
    • มีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตก

    หวังว่าคงได้เกร็ดความรู้รอบตัวดีๆนะครับ

    ทางเดินของอากาศในร่างกายมนุษย์

    อากาศเข้าจมูกแล้วไปไหน วันนี้จะเอามาบอกเป็นเกร็ดความรู้รอบตัวนะ

    เมื่อเราสูดอากาศเข้าไป ในอากาศมีแก๊ซ ไนโตรเจนมากสุด รองลงมาจึงเป็นออกซิเจน แต่ที่มนุษย์นำไปใช้ประโยชน์นั้นคือออกซิเจน โดยเมื่ออากาศเข้าไปในรูจมูก มันจะเคลื่อนต่อเข้าไปในโพรงจมูก ผ่านคอหอย แล้วไปถึงหลอดลมเข้าไปที่ขั้วปอด และส่งต่อไปยัง แขนงขั้วปอด ถึงถุงลมจีงแพร่เข้าไปในหลอดเลือดฝอย

    อากาศที่เข้าไปในในหลอดเลือดฝอยจะทำให้เลือดมีออกซิเจนละลายอยู่ซึ่งนำไปใช้เลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย และส่งเลือดที่ไม่มีออกซิเจนกลับมาที่หัวใจ ปัมป์ไปรับออกซิเจนใหม่ที่ปอด แล้วก็วนไปเรื่อยๆในร่างกายเรา

    หวังว่าคงได้เป็นเกร็ดความรู้รอบตัวนะคับ

    กินอาหารแล้วอาหารไปไหนบ้างในร่างกาย

    เพื่อนๆที่เข้ามาในนี้คงอยากรู้ไว้เป็นเกร็ดความรู้, ความรู้รอบตัวดีๆ ใช่ไหมล่ะ หรือไม่ก็ต้องสงสัยอยากรู้อยากเห็นว่า อาหารที่เข้าปากไปแล้วมันไปไหนบ้าง วันนี้เราจะมาบอกให้รู้ไว้เป็น ความรู้รอบตัวนะ

    สมมติเรากินลูกชิ้นไปลูกหนึ่ง เจ้าลูกชิ้นมันจะเดินทาง จากปากเราเข้าไปสู่ คอหอย แล้วก็ลงไปที่หลอดอาหาร เข้าไปในท้อง ท้องเราก็จะส่งต่อไปที่ลำไส้เล็ก ซึ่งไหลต่อไปสู่ลำไส้ใหญ่ จากนั้นก็ออกมาสู่ทวารไงล่ะ

    หน้าที่ของธาตุแต่ละชนิดต่อร่างกาย

    ธาตุชนิดใด มีความสำคัญต่อเราอย่างไรบ้างรู้ไว้เป็นเกร็ดความรู้รอบตัว

    • แคลเซียม – องค์ประกอบในกระดูก และฟัน,? ช่วยในการตื่นตัวของกล้ามเนื้อและระบบประสาท, ช่วยให้เลือดแข็งตัว
    • ฟอสฟอรัส – องค์ประกอบในกระดูกและฟัน, ส่วนประกอบของ สารพลังงานต่างๆในร่างกายเช่น ATP? NADP, ส่วนประกอบของ RNA, รักษาสมดุลกรด-เบส ในร่างกาย
    • เหล็ก – ฮีมในฮีโมโกลบิน(ในเม็ดเลือดแดง)ประกอบด้วยเหล็ก, ตัวร่วมของเอนไซม์ ไซโทโครม ออกซิเดส
    • แมกนีเซียม – ส่วนประกอบของกระดูกและฟัน, กระตุ้นเอนไซม์ในกระบวนการเมทาบอลิซึม, รักษาสมดุลของเหลวภายนอกเซลล์
    • โซเดียม – ช่วยในการตื่นตัวของประสาท และกล้ามเนื้อ, คุมสมดุลกรดเบส
    • โพแทสเซียม – ร่วมกับแคลเซียมคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ, คุมสมดุลออสโมติก
    • ไอโอดีน – ส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน
    • กำมะถัน – กรดอะมิโน เส้นผม กระดูกอ่อน และเล็บประกอบ รวมทั้งโปรตีนอีกหลายชนิดประกอบด้วยกำมะถัน
    • ฟลูออไรด์ – สารเคลือบฟัน ปกป้องจากฟันผุ, กระดูกแข็งแรง, ดูดซึมธาตุเหล็ก

    หวังว่าคงได้ความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ อ่านบทความดีๆที่นี่

    ความสำคัญของแร่ธาตุต่อร่างกาย

    บทความดีๆเรื่องแร่ธาตุกับร่างกายเราเกร็ดความรู้รอบตัว
    ธาตุในร่างกายคนเราส่วนใหญ่ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ไนโตรเจน ซึ่งมีถึง ร้อยละ 95-96 น้ำหนักร่างกาย ที่เหลืออีก 4-5% เป็นะพวกแร่ธาตอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาดูความสำคัญของมันกันครับ

    ธาตุที่มีปริมาณมาก – มีประมาณ 60-80% (จาก 4-5%) คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ฯลฯ
    ธาตุที่มีปริมาณน้อย – ร่างกายยังต้องการ แต่ในจำนวนน้อยๆก็เพียงพอ; เหล็ก สังกะสี ทองแดง ฯลฯ
    ธาตุที่มีอยู่น้อยมาก – หน้าที่แท้จริงของสารพวกนี้ยังไม่ประจักษ์ มีดังนี้ อลูมิเนียม โบรอน โครเมียม ฯลฯ

    ความสำคัญของแร่ธาตุ

    • รักษาสมดุล กรด-เบสให้คงที่ ซึ่งเอนไซม์จะทำงานได้ดี
    • เร่งปฏิกิริยาในร่างกาย
    • ส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ
    • คุมสมดุลของน้ำ
    • ควบคุมการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ, ประสาท

    เกร็ดความรู้รอบตัว

    น้ำกับร่างกายเรา

    บทความดีๆวันนี้ขอเสนอความสัมพันธ์ของน้ำกับร่างกายเรา
    รู้หรือไม่ ในร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วย น้ำถึงประมาณ 65 เปอร์เซนต์ ส่วนในสมองนั้นประกอบด้วยน้ำ กว่า80เปอร์เซนต์ แม้แต่ในกระดูกซึ่งหลายๆคนคิดว่าไม่น่าจะมีน้ำหรือมีน้ำเป็นองค์ประกอบน้อยมากๆ กลับมีถึง ร้อยละ25!! เห็นถึงความสำคัญของน้ำต่อร่างกายเรารึยังหละครับ

    ร่างกายต้องการน้ำโดยเฉลี่ยแล้วประมาณวันละซัก 3ลิตร น้ำที่ได้มาอาจอยู๋ในรูป น้ำเปล่าที่ดื่ม น้ำผลไม้ และอาหารอื่นๆ

    ความสำคัญของน้ำต่อร่างกายคือ

    • เซลล์ต่างๆมีน้ำเป็นองค์ประกอบ
    • ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว, แลกเปลี่ยนสารภายในเซลล์
    • ช่วยลำเลียงสารอาหาร, ก๊าซ, ของเสียต่างๆ ในร่างกาย
    • ช่วยให้อาหารชื้นทำให้ย่อยง่ายขึ้น
    • ตัวกลางในการทำปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย
    • ช่วยคุมอุณภูมิในร่างกายให้คงที่ เช่น เหงื่อไหลเมื่อร้อน เมื่อน้ำระเหยร่างกายก็จะเย็นลง
    • ช่วยขับถ่ายของเสีย เช่น ปัสสาวะของเราก็คือ ยูเรียซึ่งละลายในน้ำ ทำให้สามารถขับออกไปได้ง่่าย

    บทความดีๆเกร็ดความรู้รอบตัว